วันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2553

การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

ระบบการบริหารราชการแผ่นดิน
ประเทศทุกประเทศจะต้องจัดการเรื่องระเบียบการปกครอง การบริหารงานระหว่างรัฐกับประชาชน เพื่อให้เกิดความสงบสุขและความสะดวกให้แก่ประชาชน รัฐจึงออกกฎหมายการปกครองออกมาใช้บังคับประชาชน
ความหมายของกฎหมายการปกครองในที่นี้ หมายถึง กฎหมายที่วางระเบียบการบริหารภายในประเทศ โดยวิธีการแบ่งอำนาจการบริหารงานตั้งแต่สูงสุดลงมาจนถึงระดับต่ำสุด เป็นการกำหนดอำนาจและหน้าที่ของราชการผู้ใช้อำนาจฝ่ายบริหาร
โดยหลักทั่วไปทางวิชาการกฎหมายการปกครอง ได้จัดระเบียบการปกครองประเทศหรือที่เรียกว่า จัดระเบียบราชการบริหาร แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
การปกครองแบบรวมอำนาจปกครอง (Centralization)
การปกครองแบบกระจายอำนาจปกครอง (Decentralization)
การปกครองแบบรวมอำนาจปกครอง (Centralization) หมายถึง การจัดระเบียบการปกครอง โดยรวมอำนาจการปกครองทั้งหมดไว้ที่ส่วนกลาง พนักงานเจ้าหน้าที่ในส่วนกลางและต่างจังหวัดไดรับการแต่งตั้งถอดถอนและบังคับบัญชาจากส่วนกลางเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายที่ส่วนกลางกำหนดขึ้น เช่น การปกครองที่แบ่งส่วนราชการออกเป็น กระทรวง ทบวง กรม จังหวัด เป็นต้น
การปกครองแบบกระจายอำนาจปกครอง (Decentralization) หมายถึง การจัดระเบียบการ ปกครองโดยวิธีการยกฐานะท้องถิ่นหนึ่งขึ้นเป็นนิติบุคคลแล้วให้ท้องถิ่นนั้นดำเนินการปกครองตนเองอย่างอิสระโดยการบริหารส่วนกลางจะไม่เข้ามาบังคับบัญชาใด ๆ นอกจากคอยดูแลให้ท้องถิ่นนั้นดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ภายในขอบเขตของกฎหมายจัดตั้งท้องถิ่นเท่านั้น เช่น การปกครองของเทศบาลในจังหวัดต่าง ๆ เทศบาลกรุงเทพมหานคร หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นต้น
กฎหมายการปกครองที่เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินของประเทศไทย ได้ใช้รูปแบบการปกครอง ทั้งประเภทที่กล่าวมาแล้ว คือ ใช้ทั้งแบบรวมอำนาจและกระจายอำนาจ เพื่อให้มีความเหมาะสมกับการปฎิบัติงานของราชการ ให้มีสมรรถภาพ การกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการต่างๆให้ชัดเจน เพื่อมิให้มีการปฎบัติงานที่ซ้ำซ้อนระหว่างส่วนราชการต่างๆและเพื่อให้การบริหารในระดับต่างๆมีเอกภาพสามารถดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายที่รัฐบาลกำหนดได้ดี
ดังนั้น รัฐบาลจึงออกกฎหมายการปกครองขึ้นมา คือ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และฉบับที่ 5 พ.ศ.2545และพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 พอสรุปดังนี้
ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน คือ กติกาที่ยอมรับเป็นบรรทัดฐาน เพื่อให้การบริหารราชการมุ่งไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ
กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน มีที่มาจากแหล่งต่าง ๆ อันได้แก่ ขนบธรรม-เนียมการปกครอง รัฐธรรมนูญและความจำเป็นในการบริหารงานเพื่อแก้ไขสถานการณ์การจัด

ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ
1.ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง
2.ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค
3.ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น

ศาลยุติธรรมไทย

ศาลยุติธรรม (The Court of Justice)
เป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น
ศาลยุติธรรมมี 3 ชั้น คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา เว้นแต่ที่มีบัญญัติเป็นอย่างอื่นในรัฐธรรมนูญหรือตามกฎหมายอื่น
ศาลชั้นต้น ได้แก่ ศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี ศาลจังหวัด ศาลแขวง และศาลยุติธรรมอื่นที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกำหนดให้เป็นศาลชั้นต้น เช่น ศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลแรงงาน ศาลภาษีอากร ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ศาลล้มละลาย
ศาลอุทธรณ์ ได้แก่ ศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ภาค
ศาลฎีกาซึ่งเป็นศาลยุติธรรมสูงสุด ที่มีอยู่เพียงศาลเดียว

สำนักงานศาลยุติธรรม
สำนักงานศาลยุติธรรม เป็น
องค์กรอิสระที่ดูแลงานธุรการของศาลยุติธรรม มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีอิสระในการบริหารงานบุคคลการงบประมาณและการดำเนินการอื่น ตามที่กฎหมายบัญญัติ โดยมีเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมเป็นผู้บังคับบัญชาขึ้นตรงต่อประธานศาลฎีกา การแต่งตั้งเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมต้องได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม

รัฐบาลไทย(คณะรัฐมนตรี)

รายชื่อคณะรัฐมนตรี รัฐบาลอภิสิทธิ์

นายกรัฐมนตรี : นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
รองนายกรัฐมนตรี :
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ, นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ, พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี :
นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย, นายวีระชัย วีระเมธีกุล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง :
กรณ์ จาติกวณิช
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง :
นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์, นายพฤฒิชัย ดำรงรัตน์
รัฐมนตรี่ว่าการกระทรวงพาณิชย์ :
นางพรทิวา นาคาสัย จากพรรคภูมิใจไทย
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ :
นายอลงกรณ์ พลบุตร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม :
พล. อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ
รัฐมนตรีการท่องเที่ยวและกีฬา :
นายชุมพล ศิลปอาชา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ :
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ :
นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์, นางสาวนริศรา ชวาลตันพิพัทธ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย :
นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย :
นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์, นายถาวร เสนเนียม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน :
นายไพฑูรย์ แก้วทอง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี :
คุณหญิงกัลยา โสภณพานิช
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน :
นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร :
นายธีระ วงศ์สมุทร
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร :
นายชาติชาย พุคยาภรณ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม :
นายธีระ สลักเพชร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ :
ร.ต.หญิง ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี จาก พรรคเพื่อแผ่นดิน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ :
นายวิฑูรย์ นามบุตร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม :
นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม :
นายโสภณ ซารัมย์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม :
นายประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ, นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ :
นายกษิต ภิรมย์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม :
นายสุวิทย์ คุณกิตติ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม :
นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข :
นายวิทยา แก้วภราดัย
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข :
นายมานิต นพอมรบดี
เลขาธิการนายกรัฐมนตรี : นาย
กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ
ประธานที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี : นาย
นิพนธ์ พร้อมพันธุ์

ารปรับคณะรัฐมนตรีครั้งที่ 1
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
(ออก) นาย
วิฑูรย์ นามบุตร ลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2552
(เข้า) นาย
อิสสระ สมชัย ขึ้นดำรงตำแหน่งแทน
การปรับคณะรัฐมนตรีครั้งที่ 2
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร
(ออก) นาย
ชาติชาย พุคยาภรณ์ จากพรรคภูมิใจไทย ลาออก
(เข้า) นาย
ศุภชัย โพธิ์สุ จากพรรคภูมิใจไทย ขึ้นดำรงตำแหน่งแทนเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2552
การปรับคณะรัฐมนตรีครั้งที่ 3
รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข===
รองนายกรัฐมนตรี
(ออก) นาย
กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ จากพรรคประชาธิปัตย์ ไปดำรงตำแหน่งเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
(เข้า) นาย
ไตรรงค์ สุวรรณคีรี จากพรรคประชาธิปัตย์ ขึ้นดำรงตำแหน่งแทนเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2553
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
(ออก) นาย
จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ จากพรรคประชาธิปัตย์ ไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
(เข้า) นาย
ชินวรณ์ บุญยเกียรติ จากพรรคประชาธิปัตย์ ขึ้นดำรงตำแหน่งแทนเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2553
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
(ออก) นาย
ประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ จากพรรคภูมิใจไทย ลาออก
(เข้า) นาย
สุชาติ โชคชัยวัฒนากร จากพรรคภูมิใจไทย ขึ้นดำรงตำแหน่งแทนเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2553
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
(ออก) นาย
วิทยา แก้วภราดัย จากพรรคภูมิใจไทย ลาออก
(เข้า) นาย
จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ จากพรรคประชาธิปัตย์ ขึ้นดำรงตำแหน่งแทนเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2553
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
(ออก) นาย
มานิต นพอมรบดี จากพรรคภูมิใจไทย ลาออก
(เข้า) นาง
พรรณสิริ กุลนาถศิริ จากพรรคภูมิใจไทย ขึ้นดำรงตำแหน่งแทนเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2553

รัฐสภาไทย

รัฐสภาไทย
ประเภท
สภาคู่
สภา วุฒิสภาไทยสภาผู้แทนราษฎรไทย
ประธานรัฐสภา ชัย ชิดชอบ
รองประธานรัฐสภา สมาชิกวุฒิสภา ประสพสุข บุญเดช
รัฐสภา 630 คน
สมาชิกวุฒิสภา 150 คน
ผู้แทนราษฎร 480 คน
สถานที่ประชุม อาคารรัฐสภาไทย เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

รายนามนายกรัฐมนตรีไทย นับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475
1.พระยา
มโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) ดำรงตำแหน่งวันที่ 28 มิถุนายน 2475 พ้นตำแหน่งวันที่ 21 มิถุนายน 2476 ด้วยการทำรัฐประหารโดยพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา
2.พันเอกพระยา
พหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) ดำรงตำแหน่งวันที่ 21 มิถุนายน 2476 พ้นตำแหน่งวันที่ 16 ธันวาคม 2481 โดยรัฐบาลยุบสภา
3.จอมพล
แปลก พิบูลสงคราม (แปลก ขีตตะสังคะ) ดำรงตำแหน่งครั้งแรกวันที่ 16 ธันวาคม 2481 พ้นตำแหน่งครั้งสุดท้ายวันที่ 16 กันยายน 2500 โดยการทำรัฐประหารนำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
4.พันตรี
ควง อภัยวงศ์ ดำรงตำแหน่งวันที่ 1 สิงหาคม 2487 พ้นตำแหน่งวันที่ 8 เมษายน 2491 โดยถูกคณะรัฐประหารบังคับให้ลาออก
5.นาย
ทวี บุณยเกตุ ดำรงตำแหน่งวันที่ 31 สิงหาคม 2488 พ้นตำแหน่งวันที่ 17 กันยายน 2488 เนื่องจากลาออก เพื่อให้ผู้เหมาะสมมาแทน
6.หม่อมราชวงศ์
เสนีย์ ปราโมช ดำรงตำแหน่งครั้งแรกวันที่ 17 กันยายน 2488 และอีกครั้งในต้นปี 2519 ก่อนพ้นตำแหน่งเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ด้วยการทำรัฐประหาร นำโดยพล.ร.อ.สงัด ชลออยู่
7.นาย
ปรีดี พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม) ดำรงตำแหน่งวันที่ 24 มีนาคม 2489 พ้นตำแหน่งวันที่ 23 สิงหาคม 2489 โดยการลาออก
8.พลเรือตรี
ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ (หลวง ธำรงนาวาสวัสดิ์) ดำรงตำแหน่งวันที่ 23 สิงหาคม 2489 พ้นตำแหน่งวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 โดยการทำรัฐประหารนำโดยพล.ท.ผิน ชุณหะวัณ
9.นาย
พจน์ สารสิน ดำรงตำแหน่งวันที่ 21 กันยายน 2500 ตามมติสภาผู้แทนราษฎร และพ้นตำแหน่งวันที่ 1 มกราคม 2501 เพื่อให้มีการเลือกตั้งทั่วไป เป็น ครม.ชุดที่ 27
10.จอมพล
ถนอม กิตติขจร ดำรงตำแหน่งครั้งแรกวันที่ 1 มกราคม 2501 และอีกครั้งในปลายปี 2506 ก่อนจะพ้นตำแหน่งวันที่ 14 ตุลาคม 2516 หลังการเดินขบวนใหญ่ของนักศึกษาประชาชน ในเหตุการณ์ 14 ตุลา
11.จอมพล
สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ดำรงตำแหน่งวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2502 พ้นตำแหน่งวันที่ 8 ธันวาคม 2506 เพราะถึงแก่อสัญกรรม
12.นาย
สัญญา ธรรมศักดิ์ ดำรงตำแหน่งวันที่ 14 ตุลาคม 2516 พ้นตำแหน่งวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2518 เพื่อให้มีการเลือกตั้งทั่วไปตามรัฐธรรมนูญปี 2517
13.พลตรีหม่อมราชวงศ์
คึกฤทธิ์ ปราโมช ดำรงตำแหน่งวันที่ 14 มีนาคม 2518 พ้นตำแหน่งวันที่ 20 เมษายน 2519 เพราะยุบสภา
14.นาย
ธานินทร์ กรัยวิเชียร ดำรงตำแหน่งวันที่ 8 ตุลาคม 2519 พ้นตำแหน่งวันที่ 20 ตุลาคม 2520 โดยการรัฐประหารนำโดยพล.ร.อ. สงัด ชลออยู่
15.พลเอก
เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ดำรงตำแหน่งวันที่ 11 พฤศจิกายน 2520 พ้นตำแหน่งวันที่ 3 มีนาคม 2523 โดยการลาออกกลางสภา
16.พลเอก
เปรม ติณสูลานนท์ ดำรงตำแหน่งวันที่ 3 มีนาคม 2523 พ้นตำแหน่งวันที่ 4 สิงหาคม 2531 เมื่อยุบสภาให้มีการเลือกตั้งทั่วไป
17.พลเอก
ชาติชาย ชุณหะวัณ ดำรงตำแหน่งวันที่ 4 สิงหาคม 2531 พ้นตำแหน่งวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 โดยคณะ รสช.ทำรัฐประหาร
18.นาย
อานันท์ ปันยารชุน ดำรงตำแหน่งวันที่ 2 มีนาคม 2534 พ้นตำแหน่งวันที่ 23 กันยายน 2535 เมื่อยุบสภาให้มีการเลือกตั้งทั่วไป (ดำรงตำแหน่งช่วงสั้นๆ อีกครั้ง ภายหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 10 มิถุนายน 2535 - 23 กันยายน 2535)
19.พลเอก
สุจินดา คราประยูร ดำรงตำแหน่งวันที่ 7 เมษายน 2535 พ้นตำแหน่งวันที่ 10 มิถุนายน 2535 หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ
20.นาย
ชวน หลีกภัย ดำรงตำแหน่งวันที่ 23 กันยายน 2535 และอีกครั้งในปี 2540 พ้นตำแหน่งวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2544 เมื่อยุบสภาให้มีการเลือกตั้งทั่วไป
21.นาย
บรรหาร ศิลปอาชา ดำรงตำแหน่ง 13 กรกฎาคม 2538 พ้นตำแหน่งวันที่ 25 พฤศจิกายน 2539 เมื่อยุบสภา
22.พลเอก
ชวลิต ยงใจยุทธ ดำรงตำแหน่งวันที่ 25 พฤศจิกายน 2539 พ้นตำแหน่งวันที่ 9 พฤศจิกายน 2540 โดยการลาออก
23.พ.ต.ท.
ทักษิณ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2544 พ้นตำแหน่งวันที่ 19 กันยายน 2549 หลังถูกรัฐประหาร
24.พลเอก
สุรยุทธ์ จุลานนท์ ดำรงตำแหน่งวันที่ 1 ตุลาคม 2549 พ้นตำแหน่งวันที่ 29 มกราคม 2551 เมื่อปรากฎผลการเลือกตั้งทั่วไป
25.นาย
สมัคร สุนทรเวช ดำรงตำแหน่ง 29 มกราคม 2551 พ้นตำแหน่งวันที่ 9 กันยายน 2551 จากคำวินิจฉัยว่าไม่มีคุณสมบัติดำรงตำแหน่งของศาลรัฐธรรมนูญ
26.นาย
สมชาย วงศ์สวัสดิ์ ดำรงตำแหน่ง 9 กันยายน 2551 พ้นตำแหน่งวันที่ 2 ธันวาคม 2551 จากคำวินิจฉัยยุบพรรคของศาลรัฐธรรมนูญ (ถูกตัดสิทธิ์และไม่มีคุณสมบัติในฐานะกรรมการบริหารพรรค)
27.นาย
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ดำรงตำแหน่ง 17 ธันวาคม 2551 - ปัจจุบัน

วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553

ประวัติการ กบฎ ปฏิวัติและการรัฐประหารในประเทศไทย

ประวัติการปฏิวัติรัฐประหารและกบฎ ในประเทศไทย
'กบฏ ปฏิวัติ รัฐประหาร' โดยสาระสำคัญแล้ว การทำรัฐประหาร คือการใช้กำลังอำนาจเข้าเปลี่ยนแปลงอำนาจของรัฐ โดยมาก หากรัฐประหารครั้งนั้นสำเร็จ จะเรียกว่า 'ปฏิวัติ' แต่หากไม่สำเร็จจะเรียกว่า'กบฏ'
จาก พ.ศ. 2475 - พ.ศ. 2534 มีการก่อรัฐประหารหลายครั้ง ทั้งที่เป็น การปฏิวัติ และเป็น กบฏ มีดังนี้
พ.ศ. เหตุการณ์ หัวหน้าก่อการ รัฐบาล
2475 ปฏิวัติ 24 มิถุนายน พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ
2476 รัฐประหาร พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา พระยามโนปกรณ์นิติธาดา
2476 กบฎบวรเดช พล.อ.พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าบวรเดช พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา
2478 กบฎนายสิบ ส.อ.สวัสดิ์ มหะหมัด พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา
2481 กบฎพระยาสุรเดช พ.อ.พระยาสุรเดช พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา
2490 รัฐประหาร พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
2491 กบฎแบ่งแยกดินแดน ส.ส.อีสานกลุ่มหนึ่ง นายควง อภัยวงศ์
2491 รัฐประหาร คณะนายทหารบก นายควง อภัยวงศ์
2491 กบฏเสนาธิการ พล.ต.สมบูรณ์ ศรานุชิต จอมพล ป. พิบูลสงคราม
2492 กบฎวังหลวง นายปรีดี พนมยงค์ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
2494 กบฎแมนฮัตตัน น.อ.อานน บุณฑริกธาดา จอมพล ป. พิบูลสงคราม
2494 รัฐประหาร จอมพล ป. พิบูลสงคราม จอมพล ป. พิบูลสงคราม
2497 กบฎสันติภาพ นายกุหราบ สายประสิทธิ์ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
2500 รัฐประหาร จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
2501 รัฐประหาร จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ จอมพล ถนอม กิตติขจร
2514 รัฐประหาร จอมพล ถนอม กิตติขจร จอมพล ถนอม กิตติขจร
2516 ปฏิวัติ 14 ตุลาคม ประชาชน จอมพล ถนอม กิตติขจร
2519 รัฐประหาร พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช
2520 กบฎ 26 มีนาคม พล.อ.ฉลาด หิรัญศิริ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร
2520 รัฐประหาร พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร
2524 กบฎ 1 เมษายน พล.อ.สัณห์ จิตรปฏิมา พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์
2528 การก่อความไม่สงบ 9 กันยายน พ.อ.มนูญ รูปขจร * พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์
2534 รัฐประหาร พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ * คณะบุคคลกลุ่มนี้ อ้างว่า พลเอก เสริม ณ นคร อดีตผู้บัญชาทหารสูงสุดเป็นหัวหน้า แต่หัวหน้าก่อการจริงคือ พ.อ. มนูญ รูปขจร

การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475

การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475


วันเปลี่ยนแปลงการปกครอง ทุกวันที่ 24 มิถุนายน ของทุกปี

การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 คือ การปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทย จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยคณะราษฎร ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475
เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 คณะราษฎร ได้ใช้กลลวง นำทหารบกและทหารเรือมารวมตัวกันบริเวณรอบ พระที่นั่งอนันตสมาคม ประมาณ 2000 คน ตั้งแต่เวลาประมาณ 5 นาฬิกา โดยอ้างว่าเป็นการสวนสนาม จากนั้นนายพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ได้อ่าน ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1 ณ บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า เสมือน ประกาศยึดอำนาจการปกครอง ก่อนจะนำกำลังแยกย้ายไปปฏิบัติการต่อไป
หลักฐานประวัติศาสตร์ในเหตุการณ์ครั้งนี้ เป็นหมุดทองเหลือง ฝังอยู่กับพื้นถนน บนลานพระบรมรูปทรงม้า ด้านสนามเสือป่า (ถ้าหันหน้าไปทางเดียวกับหัวม้า จะอยู่ทางด้านซ้ายมือ) มีข้อความว่า "ณ ที่นี้ 24 มิถุนายน 2475 เวลาย่ำรุ่ง คณะราษฎร ได้ก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญ เพื่อความเจริญของชาติ" เป็นหลักฐานถึงเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์เมื่อ 72 ปีก่อน ข้อความเหล่านี้นับวันแต่จะเลือนหายไปตามกาลเวลา

คณะราษฎรที่ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศไทยจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 นั้นประกอบด้วยคนสองกลุ่ม คือ
1.กลุ่มนักเรียนไทยในต่างประเทศ
2.กลุ่มนายทหารในประเทศไทย
บุคคลทั้งสองกลุ่มพื้นฐานการศึกษาคล้ายกัน คือ ศึกษาวิชาพื้นฐานหรือวิชาชีพจากประเทศทางตะวันตก ใกล้ชิดกับการปกครองของประเทศที่ตนไปศึกษา คือ ได้สัมผัสกับบรรยากาศการปกครองในระบอบประธิปไตย เห็นความเจริญก้าวหน้าจากการที่ประชาชนในยุโรปตะวันตกมีส่วนร่วมในการปกครอง ประกอบกับบุคคลทั้งสองกลุ่มเป็นบุคคลที่มีสติปัญญาสูง ส่วนใหญ่ได้รับทุนเล่าเรียนหลวง จึงกำหนดในความคิดว่าตนควรจะมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ
คณะผู้ก่อการยึดอำนาจการปกครอง ได้รวมกลุ่มกันที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ตั้งแต่ พ.ศ. 2469 ได้มีข้อขัดแย้งกับผู้ดูแลนักเรียนไทยในฝรั่งเศสซึ่งเป็นพระราชวงศ์องค์หนึ่ง ซึ่งกล่าวหาว่านักเรียนไทยเป็นพวกหัวรุนแรง ไม่ปฏิบัติตามระเบียบวินัย ควรเรียกบางคนกลับประเทศไทยำให้นักเรียนในต่างประเทศมีพื้นฐานการไม่พอใจสถานการณ์บ้านเมืองเป็นส่วนตัว คณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่เป็นนักเรียนไทยในต่างประเทศเมื่อกลับมาถึงประเทศไทย ก็ได้เตรียมการวางแผนยึดอำนาจโดยชักชวนให้กลุ่มนายทหารเข้าร่วมด้วย การยึดอำนาจการปกครองของประเทศไทยมีผู้กระทำมาครั้งหนึ่งแล้วใน ร.ศ.130 กระทำไม่สำเร็จ ดังนั้นคณะราษฎรจึงได้วางแผนอย่างดีป้องกันข้อบกพร่องที่อาจมีขึ้น และการชัดชวนทหารเข้าร่วมด้วยจึงทำให้เกิดความสำเร็จเพราะทหารมีอาวุธ ผู้บริหารประเทศยินยอมให้คณะราษฎรยึดอำนาจไม่โต้แย้ง ด้วยเกรงว่าพระบรมวงศานุวงศ์จนถึงประชาชนจะเป็นอันตรายเพราะอาวุธ
ชนวนที่ทำให้คณะราษฎรลงมือวางแผนยึดอำนาจมีหลายสาเหตุ ได้แก่
สาเหตุแรก สภาพบ้านเมืองในช่วงเวลานั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาอภิรัฐมนตรีสภาซึ่งสมาชิกทั้งหมดเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ ด้วยเหตุผลที่จำให้แก้สถานการณ์ที่กล่าวว่า พระมหากษัตริย์กับพระบรมวงศ์ผู้ใหญ่แตกแยกกัน อภิรัฐมนตรีสภาช่วยแบ่งเบาพระราชกรณียกิจได้หลายประการแต่ความคิดของผู้ใหญ่และของผู้เยาว์กว่าย่อมแตกต่างกัน ดังนั้นการยับยั้งข้อเสนอบางเรื่องโดยเฉพาะพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเย้าอยู่หัวที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญให้ประชาชนชาวไทยในวาระราชวงศ์จักรีทรงปกครองแผ่นดินมาครบ 150 ปี จึงทำให้คณะราษฎรและกลุ่มหนังสือพิมพ์มองว่า พวกเจ้าหลงกับอำนาจ
สาเหตุที่สอง ได้แก่ ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศรายได้ไม่พอกับรายจ่าย สืบเนื่องจากเศรษฐกิจของโลกหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 และการใช้จ่ายในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว การแก้ไขคือ การดุลข้าราชการ ยุบเลิกหน่วยงานต่าง ๆ ตัดทอนค่าใช้จ่ายของกระทรวง กรม กอง และเก็บภาษีบางประการเพิ่มการแก้ไขดังนี้ก่อให้เกิดความไม่พอใจแก่ผู้เสียประโยชน์ ในวงการทหารก็เช่นกัน การขัดแย้งเรื่องงบประมาณกระทรวงกลาโหม จนถึงเสนาบดีกระทรวงกลาโหมขอลาออกจากราชการ จึงเป็นเหตุให้นายทหารคิดเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในขณะที่มีการดุลข้าราชการออก ก็มีกลุ่มบุคคลมองว่าดุลออกเฉพาะสามัญชน ส่วนข้าราชการที่เป็นเจ้าไม่ต้องถูกดุล แล้วยังบรรจุเข้าทำงานแทนสามัญชนอีก ความแตกต่างทางฐานะด้านสังคมก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง
สาเหตุที่สำคัญที่สุดก็คือ ความล่าช้าในการบริหารราชการแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชประสงค์จะฝึกข้าราชการในสภากรรมการองคมนตรีให้เรียนรู้วิธีการประชุม ปรึกษาแบบรัฐสภาเพื่อเตรียมการพระราชทานรัฐธรรมนูญ ก็ทำได้อย่างไม่มีผลเท่าไรนักพระราชบัญญติเทศบาลซึ่งจะเป็นรากฐานของการปกครองตนเองก็ยังไม่ได้ประกาศออกใช้ และข้อสุดท้ายคือ ร่างรัฐธรรมนูญที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้ผู้ชำนาญการร่างไว้เสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ยังไม่ได้พระราชทานแก่ประชาชน
การเปลี่ยนแปลงการปกครองกระทำได้สำเร็จ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ประชาชน การปกครองของประเทศจึงเปลี่ยนไป คือมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ

วันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เหตุการณ์กบฎ ร.ศ 130 (กบฎเหล็ง ศรีจันทร์)


กบฎ ร.ศ.130

ในต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังจากพระองค์ขึ้นครองราชย์ได้ราวปีเศษ ทางการสืบทราบว่ามีคณะนายทหารและพลเรือนกลุ่มหนึ่งจัดตั้งสมาคม "อานาคิช" (Anarchist) มีสมาชิกประมาณ ๘๐๐ - ๑,๐๐๐ คน มีจุดมุ่งหมายวางแผนเปลี่ยนแปลงการปกครองลดพระราชอำนาจพระมหากษัตริย์ลงมาอยู่ภายใต้กฎหมายเหมือนพระมหากษัตริย์อังกฤษหรือพระมหาจักรพรรดิญี่ปุ่น
ทางการจึงเข้าจับกุมตัวการสำคัญในการคบคิดวางแผนการในตอนเช้าวันศุกร์ที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ (ร.ศ. ๑๓๐)
ผู้ถูกจับกุมชุดแรกคือ นายร้อยเอก
ขุนทวยหารพิทักษ์ (เหล็ง ศรีจันทร์) ผู้บังคับกองพยาบาลโรงเรียนทหารบก ถูกจับที่โรงเรียนนายร้อยชั้นมัธยม, นายร้อยโทจรูญ ณ บางช้าง สังกัดกรมพระธรรมนูญทหารบก ถูกจับที่บ้านถนนสุรศักดิ์ และนายร้อยตรีเจือ ศิลาอาศน์ สังกัดกรมทหารปืนใหญ่ที่ ๒ ถูกจับที่กรมเสนาธิการทหารบก
การจับกุมตัวทหารผู้ก่อการกำเริบครั้งนี้ทำการหลายระลอก เฉพาะในวันแรกคือวันที่ ๑ มีนาคม จับกุมตัวนายทหารบกที่มีรายชื่ออยู่ในบัญชีที่ค้นพบจากบ้านขุนทวยหารพิทักษ์ ๕๘ คน เมื่อจับกุมมาได้ก็ให้มีการเขียนคำชี้แจงแบบซัดทอด ทำให้มีการขยายวงการสืบสวนออกไป และภายใน ๒ วัน ทางการก็จับกุมตัวผู้ต้องหาซัดทอดกันไปมาได้กว่าร้อยคน ส่วนผู้ต้องสงสัยแต่ยังไม่มีหลักฐานจับกุมเพียงพอก็ได้แต่งคนสะกดรอยเพื่อหาหลักฐานมัดตัวต่อไป เพราะหากหลักฐานไม่แน่นพอแล้วไปจับกุม สมเด็จ
เจ้าฟ้าจักรพงศ์ภูวนาถ ทรงเกรงว่า จะทำให้ผู้คนแตกตื่นตกใจไปมาก

สมาชิกผู้เริ่มก่อการ
จากการสอบสวนของคณะกรรมการสรุปผลการสอบสวนและพิจารณาคดีซึ่งได้กราบบังคมทูลต่อองค์พระประมุขเมื่อวันที่ ๔ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๓๑ (พ.ศ. ๒๔๕๕) มีความโดยย่อดังต่อไปนี้
คณะกลุ่มทหารบก นายทหารเรือ และบุคคลพลเรือนได้สมคบคิดกันเปลี่ยนแปลงการปกครองบ้านเมือง โดยเริ่มประชุมครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม ร.ศ. ๑๓๐ (พ.ศ. ๒๔๕๔ ตามศักราชเก่า) และประชุมต่อมาอีก ๗ ครั้งรวมเป็น ๘ ครั้งตามสถานที่ดังต่อไปนี้
สองครั้งแรก เมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม และ ๒๑ มกราคม ร.ศ. ๑๓๐ ที่บ้านนายร้อยเอกขุนทวยหารพิทักษ์ ตำบลสาทร
ครั้งที่ ๓ วันที่ ๒๘ มกราคม ร.ศ. ๑๓๐ ที่โบสถ์ร้างวัดช่องลม ช่องนนทรี
ครั้งที่ ๔ วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๓๐ ที่ทุ่งนาห่างจากสถานีรถไฟคลองเตย ประมาณ ๖๐๐ เมตร
ครั้งที่ ๕ วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๓๐ ที่สวนผักของพระสุรทัณฑ์พิทักษ์ บิดาของนายอุทัย เทพหัสดิน ณ อยุทธยา ที่ตำบลศาลาแดง
ส่วนอีกสามครั้งหลัง คือวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์, วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ และวันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๓๐ ประชุมที่อนุกูลคดีกิจสถาน แถววังบูรพาภิรมย์ ซึ่งเป็นสถานที่ว่าความของนายร้อยโทจรูญ ณ บางช้าง สำนักงานอนุกูลคดีกิจสถานใช้เป็นที่สมาชิกพบปะกันและเป็นสถานที่รับสมาชิกใหม่ด้วย
การประชุมครั้งแรกที่บ้านนายร้อยเอกขุนทวยหารพิทักษ์นั้น เป็นเสมือนหนึ่งสมาชิกผู้เริ่มก่อการมีอยู่ด้วยกันทั้งสิ้น ๙ คน คือ
นายร้อยเอกขุนทวยหารพิทักษ์ สังกัดกรมแพทย์ทหารบก อายุ ๓๐ ปี
นายร้อยตรีเหรียญ ศรีจันทร์ สังกัดกรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ อายุ ๒๐ ปี
ว่าที่นายร้อยตรีสิริ ชุณห์ประไพ สังกัดกรมทหารราบที่ ๑๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ อายุ ๒๒ ปี
นายร้อยตรี ม.ร.ว. แช่ รัชนิกร สังกัดกองโรงเรียนนายสิบ กองพลที่ ๑ รักษาพระองค์ อายุ ๒๒ ปี
ว่าที่นายร้อยตรีเขียน อุทัยกุล สังกัดกองโรงเรียนนายสิบ กองพลที่ ๑ รักษาพระองค์ อายุ ๒๕ ปี
นายร้อยตรีปลั่ง บูรณะโชติ สังกัดกองปืนกลที่ ๑ อายุ ๒๒ ปี
นายร้อยตรีสอน วงษ์โต สังกัดกองปืนกลที่ ๑ อายุ ๒๓ ปี
นายร้อยตรีจรูญ ษะตะเมษ สังกัดกองปืนกลที่ ๑ อายุ ๒๖ ปี

การปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ 5

การปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ 5

1.การจัดตั้งสภาที่ปรึกษา เพื่อให้ขุนนาง ข้าราชการ ได้คุ้นเคยกับการปกครองในรูปแบบใหม่ ทำให้ขุนนาง ข้าราชการได้รู้จักการแสดงความคิดเห็น รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้มี 2 สภา คือ
1)สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน ทำหน้าที่ประชุมปรึกษาในเรื่องราชการแผ่นดิน การออกกฎหมายต่างๆ
2)สภาที่ปรึกษาส่วนพระองค์ ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาส่วนพระองค์เกี่ยวกับราชการต่างๆ
2.การปฏิรูปการปกครองส่วนกลาง ใน พ.ศ.2430 พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการเสด็จกลับจากดูงานการปกครองในประเทศสหรัฐอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น ได้ทรงทำบันทึกเสนอต่อรัชกาลที่ 5 พระองค์ทรงพิจารณาที่จะให้มีการปฏิรูปการปกครอง จึงได้ทรงจัดตั้งกรมขึ้นใหม่ 6 กรม เมื่อรวมกับที่มีอยู่แล้ว 6 กรม เป็น 12 กรม คือ
1)กรมมหาดไทย 2)กรมพระกลาโหม 3)กรทท่า 4)กรมวัง 5)กรมเมือง 6)กรมนา 7)กรมพระคลัง 8)กรมยุติธรรม
9)กรมยุทธนาธิการ 10)กรมธรรมการ 11)กรมโยธาธิการ 12)กรมมุรธาธิการ
ใน พ.ศ.2435 กรมเหล่านี้ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นกระทรวง และโปรดฯ ให้ยกเลิกการปกครองระบบจตุสดมภ์ และใน พ.ศ.2437 ได้มีพระราชบัญญัติแยกอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหมและมหาดไทยออกจากกัน
3.การปฏิรูปการปกครองส่วนภูมิภาค มีการปกครองตามระบบเทศาภิบาล ซึ่งได้ระบุไว้ใน ประกาศจัดปันหน้าที่ระหว่างกระทรวงกลาโหมและกระทรวงมหาดไทย ร.ศ.113 โดยรวมหัวเมืองหลายเมืองเข้าเป็น 1 มณฑล มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้บังคับบัญชาการมณฑลละ 1 คน ซึ่งต้องขึ้นตรงต่อกระทรวงมหาดไทย การเปลี่ยนระบบการปกครองหัวเมืองเป็นระบบเทศาภิบาลไม่ได้ดำเนินการเป็นไปอย่างราบรื่น เพราะว่ารัฐบาลประสบปัญหาหลายอย่าง เช่น การขาดบุคลากรในการปฏิบัติงาน รัฐบาลกลางขาดงบประมาณทำให้รัฐบาลต้องเร่งรัดภาษี
4.การปฏิรูปการปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งต้องการให้ราษฎรมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ ได้มีการประกาศพระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาล สุขาภิบาลหัวเมืองแห่งแรกคือสุขาภิบาลตำบลท่าฉลอม จังหวัดสมุครสาคร ตั้งขึ้นใน พ.ศ.2448

การปกครองสมัยรัตนโกสินทร์

การปกครองสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

การปกครองสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ยังคงยึดถือตามแบบอย่างการปกครองสมัยอยุธยา คือ
เป็นการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทรงมีอำนาจสูงสุดและ
ได้รับการเคารพจากราษฎรประดุจสมมุติเทพ การปรับปรุงฟื้นฟูประเทศด้านการปกครอง การศาล และ
กฎหมายสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ที่สำคัญมีดังต่อไปนี้
1. การปกครองส่วนกลาง มีหน่วยงานสำคัญ คือ
1.1 อัครมหาเสนาบดี มี 2 ตำแหน่ง คือ
- สมุหกลาโหม มีเจ้าพระยามหาเสนาเป็นผู้บังคับบัญชา ใช้ตราคชสีห์เป็นตราประจำตำแหน่งทำหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการทหาร และหัวเมืองปักษ์ใต้ 20 หัวเมือง
- สมุหนายก ว่าการมหาดไทย ทำหน้าที่ในการปกครองดูแล ราชการฝ่ายพลเรือนทั่วไป และยังทำ
หน้าที่บังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งปวงด้วย
1.2 เสนาบดีจตุสดมภ์ เป็นตำแหน่งรองจากอัครมหาเสนาบดีมี 4 ตำแหน่ง ได้แก่
- เสนาบดีกรมเมือง (นครบาล)ใช้ตราพระยมทรงสิงห์เป็นตราประจำตำแหน่ง มีหน้าที่ดูแลกิจการทั่วไปในพระนคร ดูแลความสงบเรียบร้อยของประชาชน
- เสนาบดีกรมวัง (ธรรมาธิกรณ์) ใช้ตราเทพยาดาทรงพระโคเป็นตราประจำตำแหน่ง มีหน้าที่ดูแล
เกี่ยวกับงานพระราชพิธีต่าง ๆ พิจารณาคดีที่พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้วินิจฉัย จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า
"ธรรมาธิกรณ์"
- เสนาบดีกรมพระคลัง (โกษาธิบดี) ใช้ตราบัวแก้วเป็นตราประจำตำแหน่ง มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับรายรับ

- รายจ่ายของแผ่นดิน ติดต่อกับชาวต่างประเทศที่มาติดต่อค้าขาย ดูแลบังคับบัญชาหัวเมืองชายทะเลตะวันออก จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อว่ากรมท่า
- เสนาบดีกรมนา (เกษตราธิการ) ใช้ตราพระพิรุณทรงนาคเป็นตราประจำตำแหน่ง มีหน้าที่ตรวจตรา
ดูแลการทำไร่นา เก็บภาษีนา ซึ่งเรียกว่าหางข้าว ขึ้นฉางหลวง เพื่อเป็นเสบียงอาหารสำรองไว้ใช้ในยามเกิด
สงคราม
2. การปกครองส่วนภูมิภาค แบ่งหัวเมืองออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
2.1 หัวเมืองชั้นใน ได้แก่หัวเมืองชั้นจัตวาที่รายรอบพระนคร มีผู้รั้งเป็นผู้ปกครอง เดิมเรียกว่า
เมืองลูกหลวง หรือเมืองหน้าด่าน
2.2 หัวเมืองชั้นนอก คือหัวเมืองชั้นเอก ชั้นโท ชั้นตรี ที่อยู่ห่างไกลพระนคร มีเจ้าเมืองเป็นผู้ปกครอง มีอำนาจสิทธิ์ขาดแทนพระองค์ทุกประการ หัวเมืองเหล่านี้อาจจะมีเมืองขึ้นอยู่ในครอบครองด้วย
2.3 การปกครองประเทศราช ดำเนินตามแบบสมัยกรุงศรีอยุธยา คือให้อิสระในการปกครอง แต่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการ ต้นไม้ทอง ต้นไม้เงิน ซึ่งฝ่ายไทยจะเป็นผู้กำหนด หัวเมืองประเทศราชในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นที่สำคัญ คือ ลานนาไทย ลาว เขมรและหัวเมืองมลายู
3. การปกครองท้องที่ ท้องที่ที่เล็กที่สุดคือหมู่บ้านซึ่งเจ้าเมืองเป็นผู้แต่งตั้งผู้ใหญ่บ้านเป็นหัวหน้าปกครอง
หลายหมู่บ้านรวมกันเป็นตำบลมีกำนันเป็นหัวหน้าปกครอง หลายตำบลรวมกันเป็นแขวง มีหมื่นแขวงเป็น
ผู้ปกครอง และหลายแขวงรวมกันเป็นเมือง มีผู้รั้งหรือเจ้าเมืองเป็นผู้ปกครอง


การปรับปรุงด้านการศาลและกฎหมาย
กฎหมายที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯให้ชำระขึ้นในปี พ.ศ.2347นั้น
เรียกว่า กฎหมายตราสามดวง ที่เรียกเช่นนั้นเพระเมื่อรวบรวมและชำระเรียบร้อยแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้อาลักษณ์คัดลอกไว้เป็น 3 ฉบับ ทุกฉบับประทับตราคชสีห์ ราชสีห์ และตราบัวแก้ว ซึ่งเป็นตราประจำตำแหน่งสมุหกลาโหม สมุหนายก และพระยาพระคลัง ซึ่งเป็นเสนาบดีที่มีอำนาจหน้าที่ในการปกครองดูแลหัวเมืองทั่วพระราชอาณาจักร กล่าวคือสมุหกลาโหมปกครองดูแลหัวเมืองภาคใต้ สมุหนายกปกครองดูแลหัวเมืองทางภาคเหนือและภาคอีสาน พระยาพระคลัง ปกครองดูแลหัวเมืองชายทะเลภาคตะวันออก
ส่วนระบบการศาลของไทยในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนนต้นมีลักษณะเช่นเดียวกับสมัยกรุงศรีอยุธยา คือกระจายอยู่ตามกรมต่างๆจำนวนมากมายทั้งเมืองหลวงและหัวเมือง ศาลจึงมีจำนวนมากมาย เช่นศาลหลวง ศาลอาญา ศาลนครบาล ศาลกรมวัง ศาลกรมนา ฯลฯ เมื่อเกิดคดีฟ้องร้องในเรื่องที่เกี่ยวกับกรมใด ก็ให้ศาลกรมนั้นพิจารณาตัดสินคดี ส่วนการลงโทษคงใช้ระบบจารีตนครบาล ได้แก่การเฆี่ยน ตอกเล็บ บีบขมับ การพิสูจน์คดียังคงใช้วิธีการดำน้ำพิสูจน์ ลุยไฟพิสูจน์ และถ้าไม่พอใจคำตัดสินสามารถฎีกาได้โดยไปตีกลองวินิจฉัยเภรี ซึ่งผู้ร้องทุกข์ต้องถูกเฆี่ยน 30 ที เพื่อพิสูจน์ว่าเรื่องที่ฎีกานี้เป็นจริง ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 จึงโปรดฯให้เลิกประเพณีเฆี่ยนแล้วให้ร้องทุกข์โดยตรงต่อพระองค์เอง


จารีตนครบาล
ราษฎรที่ถูกทางราชการฟ้องว่ากระทำความผิดต่อพระเจ้าแผ่นดิน หรือต่อบ้านเมืองมักไม่ได้รับความ
เป็นธรรม เพราะกฎหมายถือว่าจำเลยเป็นผู้ผิดตั้งแต่ก่อนที่ศาลจะพิพากษาเสียแล้ว ตรงกันข้ามกับหลักฐาน
กฎหมายไทยในปัจจุบันนี้ ซึ่งถือว่าทุกคนที่มาศาลเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าศาลจะตัดสินว่าเขาเป็นผู้กระทำผิด เมื่อถือแต่ชั้นแรกว่าผู้ถูกกล่าวหาเป็นผู้ผิด ทางการจึงมีความประสงค์ให้จำเลยรับสารภาพแต่โดยดี ถ้าจำเลยไม่สารภาพ ก็ยอมให้ศาลนครบาล หรือศาลอื่นที่มีอำนาจพิจารณาคดีใช้จารีตนครบาลได้ จารีตนครบาล คือการลงทัณฑ์เพื่อผดุงความยุติธรรม ในระหว่างการพิจารณาของตระลาการ ตระลาการมีอำนาจลงทัณฑ์เฆี่ยน ตี ตอกเล็บ บีบขมับ หรือทรมานจำเลยด้วยวิธีต่าง ๆ จนกว่าจำเลยจะรับสารภาพ ถ้าตระลาการเชื่อว่าจำเลยยังสารภาพไม่หมดเปลือก หรือเชื่อว่าจำเลยไม่ยอมซัดทอดผู้ร่วมกระทำผิด ก็มีอำนาจที่จะลงโทษลงทัณฑ์จำเลยต่อไปอีก แม้ว่าจำเลยจะรับสารภาพว่าตนเป็นผู้กระทำผิดแล้ว จารีตนครบาลมีทั้งผลดีและผลเสีย ที่ว่าเป็นผลดี เพราะผู้ร้ายมักจะยอมสารภาพความผิดและซัดทอดพรรคพวกที่ร่วมกระทำผิด และทำให้ราษฎรกลัวเกรงกฎหมายของบ้านเมือง ผิดกับกฎหมายสมัยปัจจุบันที่ยอมให้ผู้ร้ายปฏิเสธความผิดได้อย่างลอยนวล ผู้ร้ายจะโกหกศาลหรือไม่ให้การต่อศาลก็ได้ ไม่มีโทษภัยแต่อย่างใดทั้งสิ้น ข้อนี้เป็นเหตุให้ผู้ร้ายได้ใจ ไม่กลัวการขึ้นศาลเหมือนแต่ก่อน แต่จารีตนครบาลมีผลเสียในข้อที่อาจพลาดได้ จำเลยบางคนอาจเป็นผู้บริสุทธิ์ แต่ทนการทรมานไม่ได้ ก็ต้องสารภาพ เลยถูกจำคุกจนตายหรือถูกประหารชีวิตไปก็มี นอกจากนี้ยังเป็นช่องทางให้พวกเจ้าหน้าที่ศาล ทำการทุจริตรีดไถ่จำเลยอีกด้วย

การปกครองสมัยกรุงธนบุรี

การปกครองสมัยกรุงธนบุรี

การปกครองสมัยกรุงธนบุรียึดถือตามแบบอย่างอยุธยา สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ คือ
แบ่งส่วนราชการออกเป็น
1. การปกครองส่วนกลาง ประกอบด้วยอัครมหาเสนาบดี 2 ตำแหน่ง ได้แก่
- สมุหนายก เป็นอัครมหาเสนาบดีฝ่ายพลเรือน และดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือ
- สมุหพระกลาโหม เป็นอัครมหาเสนาบดีฝ่ายทหาร และดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้
การบริหารราชการแบ่งออกเป็น 4 กรม เรียกว่า จตุสดมภ์ ประกอบด้วย
- กรมเวียง (นครบาล) มีหน้าที่ปกครองท้องที่ รักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง
- กรมวัง (ธรรมาธิกรณ์) มีหน้าที่เกี่ยวกับราชสำนัก และช่วยพระมหากษัตริย์พิจารณาคดีความของ
ราษฎร จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ธรรมาธิกรณ์
- กรมคลัง (โกษาธิบดี) มีหน้าที่เกี่ยวกับการเงินของแผ่นดิน และเก็บรักษาพระราชทรัพย์ที่ได้มาจาก
ส่วย อากร และบังคับบัญชากรมท่า ซี่งเกี่ยวข้องกับการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ
- กรมนา (เกษตราธิการ) มีหน้าที่ดูแลนาหลวง เก็บภาษี (หางข้าว)
2. การปกครองส่วนภูมิภาค แบ่งหัวเมืองออกเป็น
2.1 หัวเมืองชั้นใน (เมืองจัตวา) ได้แก่เมืองที่อยู่ใกล้ราชธานี เป็นเมืองเล็กๆมีขุนนางชั้นผู้น้อยเป็น
ผู้ปกครองเมือง แต่เรียกว่า จ่าเมือง เช่นเมืองพระประแดง เมืองนนทบุรี เมืองสามโคก
2.2 หัวเมืองชั้นนอก ได้แก่เมืองซึ่งอยู่นอกราชธานีออกไป แบ่งตามขนาดและความสำคัญของเมือง
กำหนดฐานะเป็นเมืองชั้นเอก โท ตรี จัตวา โดยรูปแบบการบริหารราชการเหมือนสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ฐานะของ
เมืองอาจเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
2.3 หัวเมืองประเทศราช เป็นเมืองซึ่งทางกรุงธนบุรีจะเป็นผู้แต่งตั้งเจ้าเมือง ให้อิสระในการปกครอง แต่
ต้องปฏิบัติตามนโยบายของเมืองหลวง และต้องส่งต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง รวมทั้งเครื่องราชบรรณาการตามที
เมืองหลวงกำหนด เมืองประเทศราชสมัยกรุงธนบุรีได้แก่ เชียงใหม่ หลวงพระบาง เวียงจันทร์ จำปาศักดิ์
นครศรีธรรมราช ปัตตานี และเขมร

วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วันวิสาขบูชา



วันวิสาขบูชา


ความหมาย คำว่า "วิสาขบูชา" หมายถึงการบูชาในวันเพ็ญเดือน 6 วิสาขบูชา ย่อมาจาก " วิสา - ขบุรณมีบูชา " แปลว่า " การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ " ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปเป็นกลางเดือน 7
ความสำคัญ วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ คือเกิด ได้ตรัสรู้ คือสำเร็จ ได้ปรินิพพาน คือ ดับ เกิดขึ้นตรงกันทั้ง 3 คราวคือ
1. เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ ประสูติ ที่พระราชอุทยานลุมพินีวัน ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับเทวทหะ เมื่อเช้าวันศุกร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ ก่อนพุทธศักราช 80 ปี

2.. เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้าเมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในตอนเช้ามืดวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี หลังจากออกผนวชได้ 6 ปี ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารของอินเดีย
3.หลังจากตรัสรู้แล้ว ได้ประกาศพระศาสนา และโปรดเวไนยสัตว์ 45 ปี พระชนมายุได้ 80 พรรษา ก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน เมื่อวันอังคาร ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง ณ สาลวโนทยาน ของมัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ (ปัจจุบันอยู่ในเมือง กุสีนคระ) แคว้นอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย

นับว่าเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง ที่เหตุการณ์ทั้ง 3 เกี่ยวกับวิถีชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งมีช่วงระยะเวลาห่างกันนับเวลาหลายสิบปี บังเอิญเกิดขึ้นในวันเพ็ญเดือน 6 ดังนั้นเมื่อถึงวันสำคัญ เช่นนี้ ชาวพุทธทั้งคฤหัสถ์ และบรรพชิตได้พร้อมใจกันประกอบพิธีบูชาพระพุทธองค์เป็นการพิเศษ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณ พระปัญญาธิคุณ และพระบริสุทธิคุณ ของพระองค์ท่าน ผู้เป็นดวงประทีปของโลก

ป ร ะ วั ติ ค ว า ม เ ป็ น ม า ข อ ง วั น วิ ส า ข บู ช า ใ น ป ร ะ เ ท ศ ไ ท ย

วันวิสาขบูชานี้ ปรากฏตามหลักฐานว่า ได้มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ซึ่งสันนิษฐานว่า คงจะได้แบบอย่าง มาจากลังกา กล่าวคือ เมื่อประมาณ พ.ศ. 420 พระเจ้าภาติกุราช กษัตริย์แห่งกรุงลังกา ได้ประกอบพิธีวิสาขบูชาอย่าง มโหฬาร เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา กษัตริย์ลังกาในรัชกาลต่อ ๆ มา ก็ทรงดำเนินรอยตาม แม้ปัจจุบันก็ยังถือปฏิบัติอยู่
สมัยสุโขทัยนั้น ประเทศไทยกับประเทศลังกามีความสัมพันธ์ด้านพระพุทธศาสนาใกล้ชิดกันมากเพราะพระสงฆ์ชาวลังกา ได้เดินทางเข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนา และเชื่อว่าได้นำการประกอบพิธีวิสาขบูชามาปฏิบัติในประเทศไทยด้วย
ในหนังสือนางนพมาศได้กล่าวบรรยากาศการประกอบพิธีวิสาขบูชาสมัยสุโขทัยไว้ พอสรุปใจความได้ว่า " เมื่อถึงวันวิสาขบูชา พระเจ้าแผ่นดิน ข้าราชบริพาร ทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายใน ตลอดทั้งประชาชนชาวสุโขทัยทั่วทุก หมู่บ้านทุกตำบล ต่างช่วยกันทำความสะอาด ประดับตกแต่งพระนครสุโขทัยเป็นการพิเศษ ด้วยดอกไม้ของหอม จุดประทีปโคมไฟแลดูสว่างไสวไปทั่วพระนคร เป็นการอุทิศบูชาพระรัตนตรัย เป็นเวลา 3 วัน 3 คืน พระมหากษัตริย์ และบรมวงศานุวงศ์ ก็ทรงศีล และทรงบำเพ็ญพระราชกุศลต่างๆ ครั้นตกเวลาเย็น ก็เสด็จพระราช ดำเนิน พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ และนางสนองพระโอษฐ์ตลอดจนข้าราชการทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายใน ไปยังพระ อารามหลวง เพื่อทรงเวียนเทียนรอบพระประธาน
ส่วนชาวสุโขทัยชวนกันรักษาศีล ฟังธรรมเทศนา ถวายสลากภัต ถวายสังฆทาน ถวายอาหารบิณฑบาต แด่พระภิกษุ สามเณรบริจาคทรัพย์แจกเป็นทานแก่คนยากจน คนกำพร้า คนอนาถา คนแก่ คนพิการ บางพวกก็ชวนกันสละทรัพย์ ปล่อยสัตว์ 4 เท้า 2 เท้า และเต่า ปลา เพื่อชีวิตสัตว์ให้เป็นอิสระ โดยเชื่อว่าจะทำให้คนอายุ ยืนยาวต่อไป "
ในสมัยอยุธยา สมัยธนบุรี และสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ด้วยอำนาจอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ เข้าครอบงำประชาชนคนไทย และมีอิทธิพลสูงกว่าอำนาจของพระพุทธศาสนา จึงไม่ปรากฎหลักฐานว่า ได้มีการประกอบพิธีบูชาในวันวิสาขบูชา จนมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 2360) ทรงดำริกับ สมเด็จพระสังฆราช (มี) สำนักวัดราชบูรณะ มีพระราชประสงค์จะให้ฟื้นฟู การประกอบพระราชพิธีวันวิสาขบูชาขึ้นใหม่ โดย สมเด็จพระสังฆราช ถวายพระพรให้ทรงทำขึ้น เป็นครั้งแรกในวันขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำ และวันแรม 1 ค่ำ เดือน 6 พ.ศ. 2360 และให้จัดทำตามแบบอย่างประเพณีเดิมทุกประการ เพื่อมีพระประสงค์ให้ประชาชนประกอบการบุญการกุศล เป็นหนทางเจริญอายุ และอยู่เย็นเป็นสุขปราศจากทุกข์โศกโรคภัย และอุปัทวันตรายต่างๆ โดยทั่วหน้ากัน
ฉะนั้น การประกอบพิธีในวันวิสาขบูชาในประเทศไทย จึงได้รื้อฟื้นให้มีขึ้นอีกครั้งหนึ่งในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 และถือปฏิบัติมาจวบจนกระทั่งปัจจุบัน
การจัดงานเฉลิมฉลองในวันวิสาขบูชาที่ยิ่งใหญ่กว่าทุกยุคทุกสมัย คงได้แก่การจัดงานเฉลิมฉลอง วันวิสาขบูชา พ.ศ.2500 ซึ่งทางราชการเรียกว่างาน " ฉลอง 25 พุทธศตวรรษ " ตั้งแต่วันที่ 12 ถึง 18 พฤษภาคม รวม 7 วัน ได้จัดงานส่วนใหญ่ขึ้นที่ท้องสนามหลวง ส่วนสถานที่ราชการ และวัดอารามต่างๆ ประดับธงทิวและโคมไฟสว่างไสวไปทั่วพระ ราชอาณาจักร ประชาชนถือศีล 5 หรือศีล 8 ตามศรัทธาตลอดเวลา 7 วัน มีการอุปสมบทพระภิกษุสงฆ์รวม 2,500 รูป ประชาชน งดการฆ่าสัตว์ และงดการดื่มสุรา ตั้งแต่วันที่ 12 ถึง 14 พฤษภาคม รวม 3 วัน มีการก่อสร้าง พุทธมณฑล จัดภัตตาหาร เลี้ยงพระภิกษุสงฆ์วันละ 2,500 รูป ตั้งโรงทานเลี้ยงอาหารแก่ประชาชน วันละ 200,000 คน เป็นเวลา 3 วัน ออกกฎหมาย สงวนสัตว์ป่าในบริเวณนั้น รวมถึงการฆ่าสัตว์ และจับสัตว์ในบริเวณวัด และหน้าวัดด้วย และได้มีการปฏิบัติธรรมอันยิ่งใหญ่ อย่างพร้อมเพรียงกัน เป็นกรณีพิเศษ ในวันวิสาขบูชาปีนั้นด้วย

วันอาทิตย์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

แบบทดสอบหลังเรียนสมัยอยุธยาhttp://quickr.me/FE7hhPP

การปกครองสมัยอยุธยา

การเมืองการปกครองสมัยอยุธยาตอนต้น

1. การปกครองส่วนกลาง พระมหากษัตริย์ ปกครองแบบรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง คือจตุสดมภ์ จตุสดมภ์
แบ่งเป็น กรมเวียง - มี ขุนเวียง เป็นผู้ดูแล มีหน้าที่ รักษาความสงบสุขของราษฏร
กรมวัง - มี ขุนวัง เป็นผู้ดูแล เป็นหัวหน้าฝ่าย ราชสำนักการพิจารณาพิพากษาคดี
กรมคลัง - มี ขุนคลัง เป็นผู้ดูแล มีหน้าที่รักษาผลประโยชน์ของแผ่นดินที่ได้จากการเก็บส่วยอากร
กรมนา - มี ขุนนา เป็นเจ้าหน้าที่ดูแลการทำไร่ นา และสะสมเสบียงอาหารของ พระนคร
2. การปกครองหัวเมือง อยุธยาเป็นเมืองหลวง เป็นจุดของศูนย์รวมอำนาจการปกครอง ล้อมรอบด้วยเมืองลูกหลวง ประกอบด้วย
ทิศเหนือ เมืองลพบุรี
ทิศตะวันออก เมือง นครนายก
ทิศใต้ เมือง นครเขื่อนขันธ์
ทิศตะวันตก เมือง สุพรรณบุรี
ถัดออกมาคือ หัวเมืองชั้นใน ได้แก่ สิงห์บุรี ปราจีนบุรี ชลบุรี และเพชรบุรี และเมืองประเทศราช เช่น เมือง นครศรีธรรมราชและเมืองพิษณุโลก

การปกครองสมัยอยุธยาตอนกลาง

การปกครองสมัยอยุธยาตอนกลาง 1991 - 223 การปกครองเริ่มตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เป็นต้นมา หลังจากที่ได้ผนวกเอาอาณาจักรสุโขทัยมาเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา โดยมีลักษณะสำคัญ 2 ประการคือ
1. จัดการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง 2. แยกกิจการฝ่ายพลเรือนกับฝ่ายทหารออกจากกัน การปกครองส่วนกลาง
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ โปรดฯให้มีตำแหน่งสมุหกลาโหมรับผิดชอบด้านการทหาร นอกจากนี้ยังได้ทรงตั้งหน่วยงานเพิ่มขึ้นมา อีก 2 กรม คือ กรมมหาดไทย มีพระยาจักรีศรีองครักษ์เป็นสมุหนายก มีฐานะเป็นอัครมหาเสนาบดี มีหน้าที่ควบคุมกิจการพลเรือนทั่วประเทศ
กรมกลาโหม มีพระยามหาเสนาเป็นสมุหพระกลาโหม มีฐานะเป็นอัครมหาเสนาบดี มีหน้าที่ควบคุมกิจการทหารทั่วประเทศ
นอกจากนี้ใน 4 กรมจตุสดมภ์ที่มีอยู่แล้ว ทรงให้มีการปรับปรุงเสียใหม่ โดยตั้งเสนาบดีขึ้นมาควบคุมและรับผิดชอบในแต่ละกรมคือ
กรมเมือง (เวียง) มีพระนครบาลเป็นเสนาบดี
กรมวัง มีพระธรรมาธิกรณ์เป็นเสนาบดี
กรมคลัง มีพระโกษาธิบดีเป็นเสนาบดี
กรมนา มีพระเกษตราธิการเป็นเสนาบดี
การปกครองส่วนภูมิภาค สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงยกเลิกการปกครองแบบเดิมทั้งหมด แล้วจัดระบบใหม่ดังนี้
1 .) หัวเมืองชั้นใน ยกเลิกเมืองหน้าด่านแล้วเปลี่ยนเป็นเมืองชั้นใน มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ผู้ปกครองเมืองเหล่านี้เรียกว่า ผู้รั้ง พระมหากษัตริย์จะเป็นผู้แต่งตั้งขุนนางในกรุงศรีอยุธยา ทำหน้าที่ผู้รั้งเมือง ต้องรับคำสั่งจากในราชธานีไปปฏิบัติเท่านั้นไม่มีอำนาจในการปกครองโดยตรง
2) หัวเมืองชั้นนอก (เมืองพระยามหานคร) เป็นหัวเมืองที่อยู่ภายนอกราชธานีออกไป จัดเป็นหัวเมืองชั้นตรี โท เอก ตามขนาดและความสำคัญของหัวเมืองนั้น เมืองเหล่านี้มีฐานะเดียวกันกับหัวเมืองชั้นใน คือขึ้นอยู่ในการปกครองจากราชธานีเท่านั้น
3) หัวเมืองประเทศราช ยังให้มีการปกครองเหมือนเดิม มีแบบแผนขนบธรรมเนียมเป็นของตนเอง มีเจ้าเมืองเป็นคนในท้องถิ่นนั้น ส่วนกลางจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวในด้านการปกครอง แต่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวาย
การปกครองส่วนท้องถิ่น แบ่งการปกครองเป็นหน่วยย่อย โดยแบ่งเป็น

1) บ้าน หรือหมู่บ้าน มีผู้ใหญ่บ้าน มีผู้ว่าราชการเมืองเป็นหัวหน้า จากการเลือกตั้งจากหลายบ้าน
2) ตำบล เกิดจากหลายๆ หมู่บ้านรวมกันมีกำนันเป็นหัวหน้ามีบรรดาศักดิ์เป็น พัน
3) แขวง เกิดจากหลายๆ ตำบลรวมกัน มีหมื่นแขวงเป็นผู้ปกครอง

4) เมือง เกิดจากหลายๆ แขวงรวมกัน มีผู้รั้งหรือพระยามหานครเป็นผู้ปกครอง
ต่อมาในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ได้มีการปรับปรุงระเบียบการปกครองทางด้านการทหาร ได้แก่
1. การจัดทำสารบัญชี (หรือสารบาญชี) เพื่อให้ทราบว่ามีกำลังไพร่พลมากน้อยเพียงใด

2. สร้างตำราพิชัยสงคราม ซึ่งเป็นตำราที่ว่าด้วยการจัดทัพ การเดินทัพ การตั้งค่าย การจู่โจมและการตั้งรับ ส่วนหนึ่งของตำราได้มาจากทหารอาสาชาวโปรตุเกส
3. การทำพิธีทุกหัวเมือง ซักซ้อมความพร้อมเพรียงเพื่อสำรวจจำนวนไพร่พล (คล้ายกับพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณต่อธงชัยเฉลิมพลในปัจจุบัน)

การปกครองสมัยอยุธยาตอนปลาย

สมัยอยุธยาตอนปลาย เริ่มในสมัยพระเพทราชา สมัยนี้ยึดการปกครองแบบที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงปรับปรุงแต่ได้แบ่งแยกอำนาจสมุหกลาโหมและสมุหนายกเสียใหม่ คือ สมุหกลาโหม - ดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้ทั้งหมดทั้งที่เป็นฝ่ายทหารและพลเรือน
สมุหนายก - ดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งหมดที่เป็นฝ่ายทหารและพลเรือนรูปแบบการปกครอง ของอยุธยาใช้เรื่อยมาจนถึงรัชกาลที่ 5 จึงได้มีการปฏิรูปการปกครองเสียใหม่ ได้แยกกิจการฝ่ายทหารและพลเรือนออกจากกัน แต่การกำหนดอำนาจบังคับบัญชาดูแลกิจการทั้งสองฝ่ายตามเขตพื้นที่ ซึ่งเป็นการถ่วงดุลอำนาจของขุนนางด้วยกัน เพื่อจะได้ไม่เป็นภัยต่อราชบัลลังก์และแบ่งเป็นหัวเมืองฝ่ายต่างๆ ดังนี้
- หัวเมืองฝ่ายเหนือ ขึ้นตรงต่อสมุหนายก
- หัวเมืองฝ่ายใต้ ขึ้นตรงต่อสมุหพระกลาโหม
- หัวเมืองชายทะเลตะวันออก ขึ้นตรงต่อเสนาบดีกรมคลัง

แบบทดสอบหลังเรียน

http://quickr.me/EPAkyA9